มะกรูด

มะกรูด (ภาคเหนือ : บ่าขูด)


เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กตระกูลส้ม และมะนาวที่คนไทยได้นำมาใช้ในแง่โภชนาการ และเภสัชกรรม มาแต่ช้านานแล้ว ตามลำต้นของมะกรูดและกิ่งก้านจะมีหนามแหลมโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้นนั้นปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ด มะกรูดมีใบสีเขียวแก่ มีรอยคอตตรงกลางคล้ายใบสองใบต่อกัน พื้นใบเรียบมีต่อมน้ำมันและมีกลิ่นหอม ดอกสีขาว ผลมีผิวขรุขระสีเขียวเข้มและจะค่อยสีอ่อนลงจนกระทั่งมีสีเหลืองเมื่อผลสุก

มะกรูดเป็นพืชที่มีประโยชน์มากและสามารถนำมาใช้ได้เกือบทุกส่วน แต่ในแง่ของการประกอบอาหารนั้น เราจะใช้ในส่วนของใบ ผิวของผลมะกรูด และ น้ำมะกรูดเท่านั้น 

  1. ใบ - ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน สำหรับครัวล้านนานั้นนิยมนำใบมะกรูดมาต้มกับพวเนื้อสัตว์เพื่อลดกลิ่นคาว และใช้มากในแกงอ่อม แกงฟัก 
  2. ผิว - นำมาประกอบในเครื่องแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน หรือแม้แต่ใส่ทั้งลูกลงในแกงเทโพ
  3. น้ำ - ทางภาคเหนือบางครั้งนำมาใส่ในแกงส้ม หรือ แกงบางชนิดที่มีรสเปรี้ยว เพื่อชูกลิ่นแต่จะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำมะขาม หรือน้ำมะนาว
ส่วนทางสมุนไพรนั้นถ่ือว่ามีสรรพคุณค่อนข้างมาก แต่พอสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
  1. ราก -  กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
  2. ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย
  3. ผล - น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด
  4. ผิวจากผล  - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น  เป็นยาบำรุงหัวใจ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาครัวล้านนา

เข้าใจวัฒนธรรมอาหารล้านนา

แอ่วกาดหลวง