เข้าใจวัฒนธรรมอาหารล้านนา
เข้าใจประวัติศาสตร์ของล้านนา
ในอดีตนั้นอาณาจักรล้านนาจะมีความใกล้ชิดกับอาณาจักรล้านช้างของลาว ดังเมื่อถึงปีพ.ศ. 2091 พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสารราชเจ้า (กษัตริย์ล้านช้าง) ซึ่งประสูติกับพระมเหสีที่มีพระนามว่า “พระนางยอดคำทิพย์” (พระธิดาในกษัตริย์ล้านนา) ได้ทรงขึ้นครองราชย์ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งของชาวล้านนา และ ชาวลาวล้านช้าง แต่พระองค์ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนาได้เพียงหนึ่งปี ก็เสด็จกลับไปปกครองอาณาจักรล้านช้าง
ชาวเหนือหรือ ชาวล้านนานั้นมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เรามีวัฒนธรรมทางด้านภาษา และการดำรงชีวิตเป็นของเราเอง ดินแดนล้านนานั้นหมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มน้ำแม่โขง ลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่นำกก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปาย แม่นำแตง แม่น้ำงัด ฯลฯโดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง (หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง เนื่องจากคนจีนออกเสียงภาษา"ไทยลื้อ"ไม่ชัด จาก "เจียงฮุ่ง" จึงกลายเป็น "จิ่งหง" (Jinghong) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ [Ref : อาณาจักรล้านนา, Wikipedia]
อาหารล้านนา |
ในอดีตนั้นอาณาจักรล้านนาจะมีความใกล้ชิดกับอาณาจักรล้านช้างของลาว ดังเมื่อถึงปีพ.ศ. 2091 พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสารราชเจ้า (กษัตริย์ล้านช้าง) ซึ่งประสูติกับพระมเหสีที่มีพระนามว่า “พระนางยอดคำทิพย์” (พระธิดาในกษัตริย์ล้านนา) ได้ทรงขึ้นครองราชย์ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งของชาวล้านนา และ ชาวลาวล้านช้าง แต่พระองค์ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนาได้เพียงหนึ่งปี ก็เสด็จกลับไปปกครองอาณาจักรล้านช้าง
ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ. 2101) จนถึง พ.ศ. 2317 สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง 216 ปี
เข้าใจวัฒนธรรมการกินชาวเหนือ
เมื่อพิจรณาจากสถานที่ตั้งของช่าวล้านนา จะเห็นได้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นป่าเขาดังนั้นอาหารของชาวล้านนาหลายอย่างจะเป็นผลิตผลจากป่า และพืชผักพื้นบ้านซึ่งหาได้ทั่วไป และเนื่องจากมีวัฒนธรรมใกล้ชิดกับชาวลาว และไทยอิสาน ชาวล้านนิยามรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะอาหารเช้า นอกจากนี้อาหารของชาวล้านนายังได้รับอิทธิพลการปรุงอาหารจาก พม่า ชาวไทใหญ่ จีนฮ่อ และ ไทยสยาม อีกด้วย ซึ่งอาหารบางประเภทก็จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แต่อาหารบางประเภทนั้นก็อาจจะหารับประทานได้จากทุกภาคของประเทศขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมอาหารที่ได้รับมา เช่นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ก็ได้อิทธิพลมาจากภาคเหนือตอนล่าง และ ภาคกลางของประเทศ
อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานของของอาหารก็มาจากส่วนผสมของอาหารทีใช้ทำ เช่นความหวานจากผัก ความหวานจากปลา ฯลฯ อาหารเหนือจะไม่เหมือนอาหารจากภาคอื่นๆ ที่อาจจะมีเผ็ด หรือ เปรี้ยวนำ แต่รสชาติของอาหารล้านนาแท้ๆนั้นจะออกไปในแนวกลางๆ ซึ่งเป็นรสชาติที่แท้จริงของวัตถุดิบตามธรรมชาติที่นำมาปรุงเป็นอาหาร ดังนั้นอาหารบางเมนูจากทางภาคเหนือ อาจจะมีรสขม ตามธรรมชาติของผักที่นำมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งอาจจะหาไม่ได้จากอาหารทางภาคอื่นๆ
อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานของของอาหารก็มาจากส่วนผสมของอาหารทีใช้ทำ เช่นความหวานจากผัก ความหวานจากปลา ฯลฯ อาหารเหนือจะไม่เหมือนอาหารจากภาคอื่นๆ ที่อาจจะมีเผ็ด หรือ เปรี้ยวนำ แต่รสชาติของอาหารล้านนาแท้ๆนั้นจะออกไปในแนวกลางๆ ซึ่งเป็นรสชาติที่แท้จริงของวัตถุดิบตามธรรมชาติที่นำมาปรุงเป็นอาหาร ดังนั้นอาหารบางเมนูจากทางภาคเหนือ อาจจะมีรสขม ตามธรรมชาติของผักที่นำมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งอาจจะหาไม่ได้จากอาหารทางภาคอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น