ภาษาครัวล้านนา

เมื่อกล่าวถึงอาหารเหนือ ก็คงอดพูดถึงภาษาและคำศัพท์ในภาษาเหนือไม่ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาหาข้อมูลจากเว็ปของเราด้วย ภาษาและคำศัพท์ส่วนใหญ่จะยึดถือตามภาษาพูดของชาวจังหวัดเชียงรายเป็นหลัก ซึ่งในบางจังหวัดในเขตล้านนาอาจจะมีคำพูดที่แตกต่างออกไปตามลํกษณะของภูมิศาสตร์ และการมีปฎิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

ของใช้ในครัวและ คำกิริยาที่ควรรู้
ภาษาเหนือ
ความหมายในภาษาไทยภาคกลาง หรือภาคอื่นๆ
จ้อนช้อน
ป๊ากทัพพี
ตะไหลถ้วยกระเบื้องเล็กๆ สำหรับใส่ขนมแล้วนึ่งเรียกว่าถ้วยตะไล
ซ้าฮวดตะกร้าไม้ไผ่สาน
ครกมองครกกระเดื่อง
หลัวฟืน
กับไฟไม้ขีดไฟ
คัวไฟห้องครัว
ดังไฟก่อไฟ หรือจุดไฟ
ข้าวนึ่งข้าวเหนียว
ข้าวงายอาหารเช้า
ข้าวตอนอาหารกลางวัน
ข้าวแลงอาหารเย็น
เยี๊ยะทำ เช่น เยี๊ยะกับข้าว คือการทำอาหาร
แอ๋บ (คำนาม 1)กล่อง หรือ ห่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก
แอ๋บ (คำนาม 2)อาหารคาวซึ่งต้องห่อด้วยใบตองก่อนนำไปปิ้งย่าง หรือ "งบ" ในภาคกลาง
ออมกระปุ๋กขนาดเล็ก
ลาบ (กิริยา)การสับให้ละเอียด

ศัพท์ในครัวล้านนาที่ควรรู้
ภาษาเหนือความหมายในภาษาไทยภาคกลาง หรือภาคอื่นๆ
หอมด่วนสะระแหน่
หอมบั่วหัวหอม หรือ หอมแดง
หอมป้อมผักชี
หอมป้อมเป้อผักชีฝรั่ง
หอมยอยหลักเกียว (Rakkyo) หรือกระเทียมโทนจีน
หอมขาวกระเทียม
ผักจีผักชีลาว
จิ้นเนื้อสัตว์ เช่น จิ้นไก่ จิ้นหมู จิ้นงัว
อ่องออสมอง
ป๋าเหยี่ยนปลาไหล
ป๋าหลิมปลาช่อน
ป๋าสล่ากปลากระดี่
ป๋าฮ้าปลาร้า
บ่าฟักแก้วฟักทอง
บ่าเขือส้มมะเขือเทศ
บ่าขูดมะกรูด
บ่านาวมะนาว
บ่าป้าวมะพร้าว
บ่าม่วงมะม่วง
บ่าตื๋นกระท้อน
บ่าริดไม้เพกา หรือ ลิ้นฟ้า
บ่าค้อนก้อมมะรุม
จ๊ะไคตะไคร้
หัวละแอนหัวกระชาย
ก้อมก้อแมงลัก
ต๋ำส้มส้มตำ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เข้าใจวัฒนธรรมอาหารล้านนา

แอ่วกาดหลวง