ผักพืชเมืองเหนือ

วัฒนธรรมการปรุงอาหารไทย โดยทั่วไปนั้น ใช้เครื่องปรุงที่มีอยู่ในพื้นที่ เป็นพืชผักและเครื่องเทศ และ อาหารไทยจากภาคเหนือก็เช่นเดียวกันกับอาหารไทยที่มาจากภาคอื่น ดังที่เคยกล่าวเอาใวในตอนที่แล้วว่า อาหารของชาวเหนือนั้นประกอบด้วยพืชผักพื้นบ้าน และ ผักป่าต่างๆ ที่หาได้ง่ายตามลักษณของภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่ามีสารประกอบพฤกษเคมี หรือไฟโตเคมิคอล (phytochemical) ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการและปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นด้วย ทำให้เราใช้ประโยชน์เป็นยาที่ช่วยปรับสมดุล ป้องกันและรักษาโรคได้ดีมาก จากลักษณะการกินดังกล่าวนี้ สามารถกล่าวได้ว่า อาหารเหนือเป็น อาหารสมุนไพรชนิดหนึ่ง (Herbal Food)

รากซู - พืชผักที่สามารถพบได้ในแถบภูเขาทางภาคเหนือบางจังหวัดเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น
ผักเซียงดา ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
ตะไคร้ เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ ขับลม เบื่ออาหาร
กระเพรา ปรับธาตุ ช่วยภาวะสมดุลหลายกระบวนการของร่างกาย
ผักไผ่ เขับปัสสาวะ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดเมื่อย ขับเหงื่อและรักษาโรคปอด

นอกจากนี้ยังมีพืชผัก สมุนไพร และ เครื่องเทศอีกหลายชนิด ที่ประกอบเข้าเป็น ครัวล้านนา พืชบางชนิดอาจจะมีชื่อเฉพาะถิ่น และ ไม่เป็นที่รู้จักของคนภาคอื่น แต่บางชนิดก็อาจจะเป็นชนิดเดียวกับที่พบได้ในภาคอื่นๆ แต่ใช้ชื่อแตกต่างกันออกไป ซี่งทางทีมงานของเราจะได้นำมาแนะนำให้รู้จักในรายละเอียดเป็นแต่ละชนิดไป เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประกอบอาหารล้านนาต่อไป เนื่องจากอาหารเหนือมีความเป็นเฉพาะถิ่น ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องเทศ จึงทำให้อาหารเหนือมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวไม่ว่าจเป็น รสชาติ สี และกลิ่นของอาหาร ซึ่งบ่งบอกถึงวัฒนธรรมการกิน และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาครัวล้านนา

เข้าใจวัฒนธรรมอาหารล้านนา

แอ่วกาดหลวง